วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

แผ่นพับเรื่อง วงจรชีวิตสัตว์

ชื่อโครงงาน     แผ่นพับเรื่อง  วงจรชีวิตสัตว์
ผู้จัดทำโดย
1.  นาย       นพกร                  ปัญติภาณุวัฒน์           2.   ด.ญ.      มัสยา                   เกิดบัณฑิต
3.   ด.ช.      จักรพงษ์              เมฆวิลัย                     4.   ด.ช.       ธีรพงค์                 โสภา
5.   ด.ญ.      สาวิณี                  โล๊ะหนองล้น
 ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
อาจารย์       จิราพร          ฝีมือช่าง        อาจารย์       ธิดารัตน์        สังข์อนันต์
บทคัดย่อ
วงจรชีวิตสัตว์  เช่น   ยุง    เห็บ  เป็นต้น  ยุงตัวผู้จะมีชีวิตนานถึง 7  วัน  ยุงตัวเมียจะมีชีวิต30-45  วัน และเห็บจะมีชีวิตอยู่ได้  2  เดือน นอกจากยุงและเห็บแล้วยังมีสัตว์ชนิดอื่นๆอีกอยู่ในวงจรชีวิตสัตว์ได้นำอยู่ในแผนพับ   วัตถุประสงค์   จัดทำขึ้นมาไว้ศึกษาเรียนรู้และมีวิธีการทำแผ่นพับ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
มาจากการค้นจากอินเทอร์เน็ต
1.เราสามารถรู้เรื่องวงจรชีวิตของสัตว์
2.เพื่อต้องการทราบเรื่องวงจรชีวิตสัตว์จึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นมา
3.ได้ไว้ให้น้องๆได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้
วิธีการดำเนินงาน
-วัสถุอุปกรณ์
1.กาวสองหน้า   2.กรรไกร   3.ไม้บรรทัด     4.แทบกาว   5.ฟิวส์เจอร์บอร์ด   6.กระดาษใส   7.ดินสอ    8.คัตเตอร์
วิธีการดำเนินการ
1.นำดินสอไม้บรรทัดวัดที่ฟิวส์เจอร์บอร์ดในได้ขนาดที่กำหนด กว้าง 24  ยาว 3

2.เมื่อตัดไว้เรียบร้อยทั้งหมด 7  ชิ้น


3.ก็นำแทบกาวมาติดกัน
4.นำคัตเตอร์หรือกรรไกรตัดตกแต่งให้เรียบร้อย


5.จัดเตรียมโครงงานที่ทำเมื่อเสร็จโครงงานก็นำโครงงานที่ทำเสร็จแล้วมาติดที่ฟิวส์เจอร์บอร์ดโดยใช้กาวสองหน้าติด

                 

6.เสร็จแล้วก็จัดตกแต่งให้สวยงาม
ขอขอบคุณ    อาจารย์      จิราพร       ฝีมือช่าง      อาจารย์        ธิดารัตน์        สังข์อนันต์
เอกสารอ้างอิง     http://www.thaigoodview.com/  

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการทำโครงงาน

ขั้นตอนการทำโครงงาน











การทำโครงงานมีขั้นตอนดังต่อไปนี้






การคิดหัวเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา


การวางแผนในการทำโครงงาน


การลงมือทำโครงงาน


การเขียนรายงาน


การแสดงผลงาน


1.การคิดจะเลือกหัวเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา


ขั้นตอนการเลือกหัวเรื่องเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญหัวเรืองของโครงงานจะต้องชัดเจนน่าสนใจและเป็นความยากรู้


ข้อควรคำนึงในการเลือกหัวเรื่องในการทำโครงงาน


เหมาะสมกับระดับความรู้


เหมาะสมกับความสามารถ


วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้


งบประมาณ


ระยะเวลาที่ใช้ทำโครงงาน


มีอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษา


ความปลอดภัย


มีแหล่งความรู้หรือเอกสารเพียงพอที่จะค้นคว้า

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของดอกมะลิ







ดอกมะลิ ดอกไม้วันแม่แห่งชาติ







ดอกมะลิ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Jasminum Adenoplyllum


วงศ์ : OLEACEAE


ชื่อไทยพื้นเมือง : มะลิลา , มะลิซ้อน , มะลิหลวง






มะลิเป็นไม้พุ่มขนาดปานกลาง มีพุ่มต้นสูงเต็มที่ประมาณ 5 ฟุต เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย รูปใบมนป้อมปลายใบแหลม มีสีเขียวเข้มแข็งหนา ขนาดใบยาว 1.5 - 3 นิ้ว ดอกเป็นสีขาว มีทั้งชนิดดอกซ้อนและดอกลา เมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ในคติของคนไทย ถือกันว่าดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์และเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเย็นระรื่นใจ จึงยกย่องให้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ เป็นดอกไม้วันแม่แห่งชาติ ซึ่งทางราชการให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมา






จากหนังสือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2520 มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพระเกียรติไว้ว่า






"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฎอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด






หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่าง ๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่แล้วจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกหัดอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถนั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมือง และของประชาชนชาวไทยทั้งมวล"






ข้อความดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่แห่งชาติตามเหตุผลของทางราชการ และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิสีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า






ดอกเอ๋ยดอกมะลิ


สดสะอาดปราศสีราคีระคน


กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง


อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย


ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น


เหมือนกมลใสสดหมดระคาย


เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย


ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย